กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือภาวะตาตก/เปลือกตาตก (Ptosis) เกิดจากการเจริญผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ยกหนังตา (Levator palpebrae superioris) ทำให้ยกหนังตาไม่ได้ หรือยกหนังตาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่มีแรงยก โดยจะมีลักษณะขอบตาบนตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ และบดบังกระจกตา จึงส่งผลให้ตาไม่สดใส แววตาดูเศร้า หนังตาตก ดูง่วง ดูปรือ ดูลอย อยู่ตลอด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน "กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง" อาจพบเป็นข้างเดียวหรือเกิดขึ้น 2 ข้างก็ได้ โดยส่วนใหญ่แบ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ดังนี้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงประเภทนี้จะมีลักษณะเปลือกตาตกมาปิดตาดำตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่มักพบในเด็ก ทำให้ทันศวิสัยการมองเห็นต่าง ๆ ของตาฝั่งที่เป็นไม่ค่อยชัด หากไม่แก้ไขอาจเกิดปัญหาสายตา เช่น ตาขี้เกียจหรือตาเหล่ได้ในภายหลัง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นในภายหลัง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงประเภทนี้จะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น หรือช่วงวัยทำงาน สาเหตุเกิดจากการใช้ชีวิตทำให้กล้ามเนื้อตาโดนยืดขยาย รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อาจเกิดจากการขยี้ตาแรงๆ บ่อย ๆ เช็ดเครื่องสำอาง ใช้คอนแทคเลนส์ ๆ
อาการผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
-
คิ้วข้างที่มีปัญหาจะสูงกว่าปกติ
-
ยกคิ้ว ยักคิ้ว ตลอดเวลา
-
จะเห็นตาดำได้เล็กกว่าคนปกติโดยทั่วไป
-
ลืมตาไม่สุด ตาปรือ ตาลอย เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา
-
อาจเป็นเพียงข้างเดียว หรือเป็นได้สองข้าง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม หากปล่อยไว้ไม่รักษา
-
เสียบุคลิกภาพ: ผู้ที่ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักส่งผลต่อบุคลิกภาพ จึงทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประวัน
-
การที่เกิดภาวะตาตกจำเป็นต้องยกคิ้ว: อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณหน้าผาก เกิดรอยเหี่ยวย่นบริเวณหน้าผากและอาจจะทำให้เกิดอาการคล้ายปวดหัวได้
-
ทัศนวิสัยการมองเห็นลดลง: ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่งผลรบกวนการมองเห็น มองเห็นแคบลง เนื่องจากหนังตาตกจนบดบังทัศนวิสัย
การรักษา "ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง"
สำหรับผู้ที่มีปัญหา "ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง" สามารถแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้โดยการผ่าตัดยกกล้ามเนื้อตาจะทำให้ตาเปิดโตมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำร่วมกับตาสองชั้น เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ชั้นตาไม่กัน ชั้นตาหลบใน ตาเล็ก ตาหลี่ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาจำเป็นต้องอาศัย จักษุแพทย์เฉพาะทาง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษา สวยงามดูเป็นธรรมชาติ และยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ในชีวิตประจำวันให้ดูดีและมั่นใจยิ่งขึ้นอีกด้วย
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหา
-
เหมาะสำหรับผู้ที่มีชั้นตาหลบใน ตาเล็ก ตาหลี่ ตาปรือ ตาลอย หนักตาตก ตาดูง่วงอยู่ตลอด
-
เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ระยะเวลาในการผ่าตัด
-
ใช้เวาลาผ่าตัดประมาน 1-2 ชั่วโมง (การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาจะใช้วิธีการฉีดยาชาเพื่อปรับชั้นตาระหว่างผ่าตัด)
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
-
งดยาประเภท Aspirin, Ibuprofen ที่มีผลทำให้เลือดออกมากก่อนเข้ารับการผ่าตัด 1 สัปดาห์
-
งดวิตามิน อาหารเสริม ยาลดน้ำหนัก สมุนไพรทุกชนิดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
-
นอนพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการผ่าตัด
-
แจ้งประวัติการแพ้ยาทุกประเภทกับแพทย์อย่างละเอียด
-
ผู้ที่มีภาวะผิดปกติก่อนผ่าตัด เช่น ตาแดง หรือกุ้งยิง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อให้จักษุแพทย์ประเมินก่อนผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
-
จักษุแพทย์จะทำการประเมินตำแหน่งที่เหมาะสมกับคนไข้ในแต่ละบุคคล เพื่อวางแผนการกรีดตา
-
จากนั้นจะทำการทดสอบว่าได้ตำแหน่งที่พอเหมาะแล้วหรือยัง ตรงความต้องการคนไข้หรือไม่ เพื่อให้เข้ากับความกับความสมดุลของใบหน้า
-
เริ่มขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง




การดูแลหลังจากการผ่าตัด
-
หลังการผ่าตัดควรประคบเย็นทันที และประคบเย็นเยอะๆ ในช่วง 3 - 4 วันแรก หลังจากช่วง 3 - 4 วันแรก ให้ประคบอุ่น
-
หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์หลังจากทำการผ่าตัด
-
ฝึกลืมตาเป็นประจำเนื่องจากจะสามารถลดการบวมได้ และ ช่วยให้ชั้นตาเข้าที่มากขึ้น
-
ทานยาตามแพทย์สั่งและมาพบแพทย์ตามนัด
-
ไม่ควรรับประทานอาหารที่รสจัดหรืออาหารประเภทหมักดอง
ผลลัพธ์ของการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
-
แก้ไขตาปรือ ตาง่วงนอน คือช่วยให้ตาโตมากขึ้น สดใสขึ้น
-
ช่วยให้ทัศนวิสัยการมองเห็นชัดมากขึ้น
-
ลดการยกคิ้วช่วยลดรอยย่นที่หน้าผาก ลดโอกาสการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
-
ดวงตาสดใส ส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดี เพิ่มความมั่นใจมากขึ้น

เคลียร์ชัดทุกปัญหา ตอบชัดทุกคำถาม กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยจักษุแพทย์โรงพยาบาลศัลยกรรม SLC กดอ่านเลย
Review แก้ไข "กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง"







_230327_0.jpg)
_230327_1.jpg)
_230327_2.jpg)
_230327_5.jpg)
_230327_6.jpg)
_230327_11.jpg)