กระมีกี่ประเภท ดูแลรักษายังไงบ้าง?
แดดแรงๆ ของเมืองไทย ทำลายผิวได้ขั้นสุด หากเราไม่ดูแลปกป้องให้ดีพอ!! วันหนึ่งส่องกระจกอาจพบจุดาสีน้ำตาลเล็กๆ บนใบหน้า หรือเกิดเป็นรอยปื้นคล้ำๆ แสดงว่าผิวถูกเล่นงานซะแล้ว

จุดเล็กๆ สีน้ำตาลที่กระจายอยู่บนใบหน้า เป็นลักษณะของ "กระ" ซึ่งเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน สร้างเซลล์เม็ดสีที่มากเกินไป มักเกิดขึ้นบริเวณโหนกแก้ม จมูก หรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมักเกิดขึ้นกับคนที่มีลักษณะผิวขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ ซึ่งหากเราปล่อยไว้ ไม่ดูแลและรีบจัดการ กระก็จะกระจายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ตัวการร้ายทำลายผิว ทำให้เกิด "กระ" มีอะไรบ้าง?

-
แสงแดด รังสี UVA และ UVB จากแสงแดดเป็นตัวการร้ายที่คอยทำลายผิว นอกจากความหมองคล้ำ แสงแดดยังเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ผลิตขึ้นมามากผิดปกติ เกิดเป็นจุดด่างดำ หรือ จุดสีน้ำตาลกระจายได้ทั่วผิวหน้า และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย หากโดนแดดจัดๆ เป็นเวลานาน
-
แสงจากหน้าจอมือถือ แสงไฟ แสงจากทีวี ซึ่งแสงเหล่านี้ล้วนส่งผลกับปฎิกิริยาการสร้างเม็ดสีเมลานินใต้ผิวหนัง
-
ความเครียด รู้หรือไม่ว่าความเครียดก็เป็นการทำร้ายผิวด้วยเช่นกัน เพราะความเครียดมีส่วนสัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกายที่เกิดการแปรปรวน เกิดความไม่สมดุล ทำเมลานินที่เกิดขึ้นเกิดสะสมจนเกิดเป็นฝ้า กระ ได้
-
การไม่ทาครีมบำรุง หรือครีมกันแดด สิ่งสำคัญที่จะช่วยปกป้องผิวอันดับแรกเลย คือ การบำรุงผิว และทาครีมกันแดดเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยฟื้นฟูผิวได้จากภายใน และยังช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ไดมาตรฐาน ส่งผลทำให้ผิวพัง และเกิดเป็นปัญหาผิว สิว ฝ้า กระ ได้

"กระ" มีลักษณะยังไง?
_26_11zon.jpg)
กระ จะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ที่มีสีน้ำตาล สีเทาเข้ม ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือตามลำตัว เกิดขึ้นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์และเกิดขึ้นจากการขาดการดูแลอย่างถูกวิธี ไม่ทาครีมกันแดด เมื่อผิวโดนแสงแดดก็ทำให้เกิดการกระตุ้น การทำงานของเม็ดสีเมลานินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นจุดกระจายตามส่วนต่างๆ
กระมีกี่ประเภท?

กระแดด
-
มีลักษณะเป็นเป็นจุดหรือบางรายอาจจะมีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลแล้วแต่ความเข็มของสีผิว เห็นขอบชัดเจน ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร
-
มักพบบ่อยบริเวณใบหน้า ลำตัว ซึ่งมักเจอในกลุ่มคนสูงอายุ หรือ คนผิวขาวจัด และอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ
กระตื้น
-
มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ จะเห็นชัดเมื่อโดนแสงแดดกระทบ
-
มักพบบ่อยกับคนผิวขาว คนโซนยุโรป บริเวณ โหนกแก้ม จมูก
กระลึก
-
มีลักษณะคล้ายกับกระตื้น แต่จะมีสีเข้มกว่า เป็นได้จุดสีน้ำตาลเข้ม หรือสีออกเทาๆ เป็นได้ทั้งแบบจุด หรือแบบแผ่นมีขอบไม่ชัด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติจองเม็ดสีชั้นใน และจะยิ่งมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด
-
มักพบบ่อยบริเวณ โหนกแก้ม ขมับ จมูก พบมากในหมู่คนเอเชีย
กระเนื้อ
-
มีลักษณะเป็นก้อนนูนขึ้นมาเล็กน้อยจากผิวหน้า ขนาดไม่ใหญ่มาก มีทั้งแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ มีขนาดเล็ก
-
มักพบบ่อยบริเวณใบหน้า คอ และลำตัว เกิดจากการที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเจริญเติบโตผิวปกติ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้กรรมพันธุ์