การเปลี่ยนแปลงของ "เต้านม" ตลอดการตั้งครรภ์ จนกระทั่ง "หลังคลอด"
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ หน้าอก จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน โกโนโดโทรฟิน โปรแล็คติน ฮอร์โมนรก แลคโตเจน ซึ่งจะมีผลไปกระตุ้นขนาดของหน้าอกจากปกติ ให้มีการขยายใหญ่ขึ้น และ แตกตัวไปจนถึงส่วนปลายท่อ กลีบต่อมน้ำนมขยายตัว สีของวงปานนมจะเริ่มเข้ม และมีขนาดกว้างมากขึ้นกว่าเดิม เกิดเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆท่อน้ำนมที่จะทำหน้าที่พยุงหน้าอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเต้านมในหญิงตั้งครรภ์ จะขยายใหญ่ขึ้น 1 - 2 เท่า เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด เต้านมจะคัดตึง มีน้ำคัดหลั่งสีขุ่น ที่เรียกว่า "คอลอสตรัม (Colostrum)" ออกมาจากเต้านม
2 - 3 วัน หลังคลอด หากมีการให้นม หรือ ระบายน้ำนมออก ด้วยการให้ลูกดูดนม การดูดนมนี้ ร่างกายจะกระตุ้นให้สมองสร้างฮอร์โมน โปรแล็คติน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะส่งผลให้กลีบต่อมน้ำนมทำการผลิตน้ำนมออกมาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งน้ำนมแม่นี้อุดมไปด้วย วิตามิน ภูมิต้านทาน และ ไขมัน ที่เป็นประโยชน์ต่อทารกมาก คุณแม่จึงควรให้นมจากเต้าเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของลูกน้อย และ ควรมีการระบายน้ำนมอย่างต่อเนื่อง

3 เดือน หลังคลอด ฮอร์โมนโปรแล็คติน จะเริ่มลดลงสู่ระดับปกติ เต้านมจะไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรกหลังคลอด ความรู้สึกถึงการหลั่งน้ำนม (Let down reflex) ลดลง ระบบภายในเต้านมที่เกิดการขยาย เริ่มกลับมาเป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยหลังคลอดนั้น เกิดจากสารอาหารในน้ำนมที่มีส่วนประกอบของไขมันได้ออกไปพร้อมกับน้ำนม กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยึดเต้านมเสื่อมสภาพลงเนื่องจากทำหน้าที่รับน้ำหนักเต้านมขณะที่เต้านมขยาย รวมถึง ระหว่างการให้นม คุณแม่หลังคลอดไม่สวมใส่บราที่สามารถพยุงหน้าอกได้อย่างพอดี หรือ บางรายอาจจะไม่ได้ใส่บราเลย
ช่วงเวลาที่ "เหมาะสม" ในการ "ศัลยกรรมตกแต่งหน้าอก"คุณแม่หลังคลอด