“เส้นขน” สาเหตุสูญเสียความมั่นใจ เมื่อมีมากไปเกินความพอดี
นอกจากปัจจัยด้านกรรมพันธ์ที่จะบ่งบอกถึง “เส้นขน” ที่ปกคลุมร่างกายของมนุษย์แล้ว “ฮอร์โมน” ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดเส้นขน ทั้งในหญิง และ ชาย เมื่อถึงวัยที่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่เข้าสู่วัยรุ่นในช่วงหนุ่ม สาว จะพบว่าร่างกายนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเรื่องของ “เส้นขน” ที่บางรายมีมากขึ้น เกิดเส้นขนที่มีสีเข้ม หนา ดก มาทดแทนเส้นขนอ่อนก่อนวัยเจริญพันธ์ ซึ่งร่างกายได้ถูกกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) สูงเกินกว่าปกติ โดยจะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชาย และ ผู้หญิง จนบางราย คิดอยากกำจัดออกไปจากร่างกายให้หมดไป

ทำความรู้จักกับ ส่วนประกอบของ “เส้นขน”
1. รูขุมขน
เป็นส่วนหนึ่งของหนังกำพร้า และ หนังแท้ มีลักษณะยื่นเข้าไปถึงเยื่อใต้หนัง ประกอบกันเป็นท่อล้อมรอบ “รากขน” โดยขุมขนนี้ จะเชื่อมต่อกับท่อ “ต่อมไขมัน” ซึ่งท่อต่อมไขมันจะทำหน้าที่รักษาสมดุล ดูแลผิวให้ชุ่มชื่นของผิว ไม่ให้แห้งกร้าน หากรูขุมขนถูกรบกวน “ต่อมไขมัน” จะปล่อยไขมันมาเพื่อปกคลุมผิวให้เกิดความสมดุล และ รูขุมขนก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริเวณของการเกิดเส้นขน
2. รากขน
จะสังเกตได้ว่า เส้นขน ที่มีลักษณะเอียงไปในทิศทางเดียวกันนั้น เป็นผลที่เกิดจาก “รากขน” ซึ่ง เป็นส่วนสำคัญที่เป็นต้นตอกำเนดของเส้นขน จะฝังอยู่ใต้ผิวในลักษณะ “เฉียง” โดยรากขนนั้นจะมีลักษณะโป่งเป็นกระเปาะ และ มีส่วนของหนังแท้ ยื่นเข้าไปในกระเปาะนี้ด้วย
.jpg)
3. เส้นขน
เป็นส่วนที่มีการเจริญติบโตพ้นผิวหนังขึ้นมา โดยที่เส้นขนของแต่ละคนจะมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป รวมถึง ลักษณะเส้นขนก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยทางกลไกของร่างกาย ทั้ง ฮอร์โมน เชื้อชาติ พันธุกรรม ฯลฯ
ระยะการเจริญเติบโตของเส้นขน (Hair Growth Cycle)
ปกติแล้ววงจรชีวิตของเส้นขน จะมีทั้งหมด 3 ระยะของการเจริญเติบโต โดยจะเรียงลำดับจาก ระยะเติบโต ไปยังระยะเสื่อมสภาพ และไปยังระยะพักตัว จากนั้นจะวนกลับไปที่ ระยะเติบโต เป็นอย่างนี้อย่างต่อเนื่องตามลำดับ หากเมื่ออายุมากขึ้น ก็จะทำให้การเจริญเติบโตในแต่ระยะนั้น ช้าลงตามไปด้วย 3 ระยะการเจริญของเส้นขน มีดังนี้
1. ระยะเติบโต Anagen Phase
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เส้นขนมีการเจริญเตบโตอย่างเต็มที่ (Glowth) โดยจะมีโครงสร้างของเส้นขนที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ละเส้นขนจะมีอายุ 2 - 3 ปี โดยประมาณ หากไม่มีปัจจัยอันใดมาทำให้ขนร่วงออกไปก่อน แต่เมื่ออายุของคนเรามากขึ้น ระยะการเจริญเติบโตก็จะสั้นลง บางรายอาจพบว่าเกิดปัญหาผมบางได้

2. ระยะเสื่อมสภาพ Catagen Phase
เป็นระยะที่ต่อเนื่องมาจาก Anagen Phase เป็นระยะที่เส้นขนหยุดการเจริญเติบโต พร้อมที่จะหลุดร่วง ออกจากรูขุมขน โดยจะหยุดการเจริญเติบโตภายในประมาณ 2 - 3 สัปดาห์
3. ระยะพักตัว Telogen Phase
เส้นขนในระยะนี้ เป็นระยะต่อเนื่องมาจาก ระยะเสื่อมสภาพ (Catagen Phase) เส้นขนจะหลุดออกมาจากโคนขน แล้ววนสู่ในระยะเติบโต (Glowth) เป็นวงจรเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 เดือน ในการหลุดร่วง
“เส้นขน” มีกี่ชนิด?
1. ขนละเอียด : จะปรากฏขนเส้นอ่อน ที่มีความละเอียดอ่อน ไม่มีสี ขนชนิดนี้จะขึ้นมาหลังจากที่เส้นขนเมื่อสมัยยังเป็นทารกได้หลุดร่วงไปแล้ว
2. ขนอ่อน : จะมีลักษณะเป็นเส้นขนบางๆ เส้นเล็ก มีสีแต่ไม่ดำเข้ม จะพบมากที่หน้า ลำคอ ลำตัวของผู้หญิง และ ศรีษะก็จะมีขนลักษณะนี้อยู่บ้าง เช่น ไรผม ซึ่งขนในลักษณะนี้จะขึ้นมาทดแทน ขนละเอียดที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน
3. ขนชุดสุดท้าย : เมื่อเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะปรากฏเส้นขนที่มีลักษณะหนา หยาบ สีเข้ม ในบางบริเวณของร่างกาย เช่น ขนตา ขนคิ้ว ขนรักแร้ ขึ้นมาทดแทนขนอ่อนที่กล่าวมาข้างต้น โดยจะมีอายุประมาณ 5 เดือน

เปรียบเทียบ 6 “เทคนิคการกำจัดขน”
เมื่อ “เส้นขน” มีมากเกินไปจนเกินความพอดี หลายคนอาจคิดที่จะ “กำจัดขน” ออกจากเรือนร่างให้หมดไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ทั้งวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และ การกำจัดขนทางการแพทย์ วันนี้ SLC ทำการเปรียบเทียบให้ทุกท่านได้ดูว่าในแต่ละเทคนิคของ “การกำจัดขน” เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจว่าเทคนิคใดที่เหมาะสมกับ “การกำจัดขน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายผิว และ ตรงตามความต้องการของคุณ
เปรียบเทียบ 6 “วิธีการกำจัดขน” |
||||||
วิธีการ |
เครื่องมือ |
ผลลัพธ์ และ ลักษณะของเส้นขนที่ขึ้นใหม่ |
การเกิดขนใหม่ |
ความถี่ในการทำ |
ผลที่ได้ในระยะยาว |
ผลข้างเคียง |
โกน |
ใช้มีดโกน โกนไปยังผิวหนังที่ปรากฏเส้นขน ให้หมดไปโดยไม่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรากขน |
ความแข็งของเส้นขนที่เกิดขึ้นหลังจากการโกนนั้น เป็นเพราะการโกนเป็นการตัดตอนของเส้นขน เมื่อหน้าตัดของเส้นขนโผล่มาจากผิวหนังจึงเห็นว่าขนนั้นขึ้นมาเป็นตอทั้งที่อยู่ในรากขนเดิมนั่นเอง |
2 – 3 วัน |
- ต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ1 ครั้ง
|
เส้นขนยังคงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการเจริญเติบโตวงจรชีวิตเส้นขน |
- บางรายเกิดอาการคัน ระคายเคืองผิว- เสี่ยงต่อการอักเสบผิว หรือ รูขุมขน จากมีดโกน |
ถอน |
ใช้แหนบในการถอนขนออกจากรูขุมขน โดยมีโอกาสดึงได้ทั้งรากขน หรือ แค่เพียงตัดตอนเส้นขน |
เส้นขนขึ้นใหม่จะมีลักษณะแบบเดิม บางเส้นขนที่ถูกตัดตอนโดยไม่ถึงรากขนจะขึ้นเป็นลักษณะแข็ง แทงผิวออกมา เสี่ยงต่อการเป็นขนคุด หรือ เป็นสิวได้ |
1 - 2 สัปดาห์ |
- 2 ครั้ง / เดือน- ต้องทำอยู่ตลอดเพราะรากขนไม่ได้ถูกทำลาย |
เส้นขนยังขึ้นอย่างต่อเนื่องตามวงจรชีวิตของเส้นขน |
- บาดเจ็บผิวบริเวณรูขุมขน- มีโอกาสเกิดรูขุมขนอักเสบ เป็นตุ่มๆ (ผิวหนังไก่)- มีโอกาสเกิดขนคุด เนื่องจากรูขุมขนที่ถูกถอนขนออกไป อาจมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันรอบๆรูขุมขน และ หลังจากถอนขน ผิวหนังจะสร้างเซลล์ที่มีความหนาขึ้นมาปกคลุมรูขุมขน จึงทำให้ขนใหม่ไม่สามารถทะลุออกมาได้ |
ครีมกำจัดขน |
ทาครีมกำจัดขน ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยในครีมจะมีส่วนผสมของสารกัดกร่อนซึ่งจะก่อให้เกิดการอ่อนตัวของเส้นขนจากนั้น จึงล้าง หรือ เช็ดออกตามแนวขนได้อย่างได้ง่ายดาย |
เส้นขนใหญ่ และ แข็ง อาจเห็นเป็นจุดดำๆ บริเวณผิวที่ทำเนื่องจาก เส้นขนถูกตัดตอนแค่เฉพาะขนบนผิวหนังเท่านั้น โดยทิ้งรากขนไว้ |
2 – 3 วัน |
- ต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ1 ครั้ง
|
เส้นขนยังคงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเส้นขนจะไม่แข็งแบบการโกน |
- อาจเกิดอาการแสบร้อน บางรายผิวไหม้จากสารเคมี- ผิวแห้งลอก ผิวบางขึ้น- ครีมบางตัวมีกลิ่นฉุนแรง- สีผิวบริเวณที่ทำคล้ำลง |
เครื่องถอนขนไฟฟ้า |
หัวเครื่องมือถอนเส้นขนที่มีการเรียงตัวอย่างละเอียด มีหลักการปรับเส้นขนให้ตั้งขึ้น และ ดึงเส้นขนออกจากรูขุมขน โดยจะดึงรากขนออกมาด้วย รวดเร็วกว่าการถอนขนด้วยแหนบ |
เส้นขนขึ้นใหม่จะมีลักษณะแบบเดิมที่เคยมี |
1 – 2 สัปดาห์ |
ต้องทำอยู่ตลอด และ ควรทำ 2 ครั้ง / เดือน |
เส้นขนยังขึ้นอย่างต่อเนื่องตามวงจรชีวิตของเส้นขน และ เมื่อทำอยู่บ่อยครั้งเส้นขนจะหลุดออกง่ายเนื่องจากรูขุมขนได้เปิดกว้างขึ้น |
- เจ็บจี๊ดๆ คล้ายการโดนดึงเส้นขน- มีโอกาสเกิดขนคุด ต้องสครัปผิวร่วมด้วยเพื่อเป็นการทำความสะอาดผิว และ รูขุมขนให้มีการผลัดขนที่ค้างอยู่ออกมาด้วย- หากมีการทำอย่างต่อเนื่อง รูขุมขนจะกว้างขึ้นเนื่องจากต้องมีการเปิดรูขุมขนก่อนทำ- หลังทำทันทีจะปรากฏเส้นขนหลงเหลืออยู่บ้าง ต้องเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมเอง |
WAX |
การใช้ WAX ชนิดร้อน หรือ ชนิดเย็น ทาลงบนผิวที่มีเส้นขน จากนั้น ใช้แผ่นแปะ ดึงออกตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นการกำจัดขนทั้งเส้นขน และถอนรากขนออกมาด้วย ขนบางบริเวณอาจมีหลงเหลือเส้นขนที่หนาถูกตัดตอนออกมา ทำให้ยังหลงเหลือรากขนอยู่ |
- เส้นขนที่ขึ้นมาใหม่จะเป็นขนอ่อน โดยที่จะมีปริมาณเท่าเดิม
|
1 – 2 |
หากต้องการให้ผิวเรียบเนียนอยู่เสมอ ต้องทำเป็นประจำ 1 ครั้ง / เดือน |
เส้นขนยังคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเทคนิคที่ไมได้มีการทำลายไปยังรากขน |
- ได้รับความรู้สึกเจ็บขณะดึง WAX ออก- ระยะแรกที่ขนกำลังจะขึ้นจะเกิดอาการคันผิว บางรายเกิดการอักเสบ มีผื่นแดง- จะต้องงดการอาบน้ำอุ่นอย่างน้อย 3 วัน เพื่อถนอมผิวบริเวณที่ทำ |
Laser |
Gentle Yag Laser การใช้ลำแสงจับเม็ดสีคล้ำของเซลล์สร้างเม็ดสีที่อยู่บริเวณรากขน และ เซลล์นี้จะทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสง เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน กำจัดต้นตอทำลายไปยังรากขน เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเส้นขน โดยไม่มีผลกระทบต่อผิวหนัง |
- เส้นขนจะค่อยๆหลุดไปหลังทำ
|
4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นขนของแต่ละบุคคล |
- ควรทำอย่างต่อเนื่อง โดยในการทำแต่ละครั้ง ควรเว้นระยะไป 4 - 6 สัปดาห์
|
หากทำอย่างต่อเนื่อง เส้นขนจะบางลง และ ค่อยๆหายไป ไม่หลงเหลือบนผิวหนังอีกเลย |
- ในแต่ละครั้งที่ทำ จะอุ่นๆบริเวณผิวที่ทำ แต่vอาการนี้จะหายไปได้ภายใน 15 – 20 นาที หลังทำ
|
เปรียบเทียบ 6 “วิธีการกำจัดขน” |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|